คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

วันเสาร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

สวัสดี..ค่ะ

สวัสดีค่ะ....<<^^'>>

เขียนโดย Unknown ที่ 23:27 ไม่มีความคิดเห็น:
ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปยัง Xแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest
บทความที่ใหม่กว่า หน้าแรก
สมัครสมาชิก: บทความ (Atom)

สมาชิกกลุ่มที่4

  • นางสาวดารุณี บุญปก
  • นางสาวโชติกา จำปาเครือ
  • นางสาวธนภรณ์ ภัทรพิศาล
  • นายกิติรักษ์ กิ่งเพชรเสรีชน
  • นายอำนาจ วิเชียรเสนาะ
  • นางสาวชนัฐกานต์ แสงสุข
  • นางสาวนฎกร ทวีวัฒน์

คลังบทความของบล็อก

  • ▼  2012 (1)
    • ▼  พฤศจิกายน (1)
      • สวัสดี..ค่ะ

เกี่ยวกับฉัน

Unknown
ดูโปรไฟล์ทั้งหมดของฉัน















































ประวัติ..<<^-^>>

ชื่อ นางสาว ณัฐวดี นามสกุล วงค์ลิขิต ชื่อเล่น ต้อง
สัญชาติ ไทย เชื้อชาติ ไทย ศาสนา พุทธ


อายุ 22 ปี เกิดวันที่ 23 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2533


มีพี่น้อง 1 คน :
ชาย - คน หญิง 1 คน
เป็นบุตรคนที่
1
Email. wonglikit2553@sanook.com
ประวัติการทำงาน
(
Working Experience) ปัจจุบันทำงานที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอบ้านค่าย จ.ระยอง แผนกมิเตอร์
ประวัติการศึกษา
จบประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับสูง (ปวส.)


จากโรงเรียนโปลีเทคนิคระยอง
สาขา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ


จบประกาศนียบัตรวิชาชีพ
(ปวช.)
จากวิทยาลัยเทคนิคระยอง สาขา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ


คติประจำใจ "You get the best out of others when you give the best of yourself." - - Harvey
Firestone - -
"คุณจะได้รับสิ่งที่ดีที่สุดของคนอื่น
เมื่อคุณได้ให้สิ่งที่ดีที่สุดของคุณไป"





แบบฝึกหัดครั้งที่ 5

1. อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คืออะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง


อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ หมายถึงการกระทำผิดทางอาญาในระบบคอมพิวเตอร์ หรือการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อกระทำผิดทางอาญา เช่น ทำลาย เปลี่ยนแปลง หรือขโมยข้อมูลต่าง ๆ


กรณี อาจารย์ในสถานศึกษา ถูกแอบขโมยข้อมูลตำราและข้อสอบ


มีอาจารย์ในสถานศึกษาแห่งหนึ่ง ได้ใช้เวลากว่า 3 ปี เขียนตำราไว้ รวมเกือบ 1,000 ไฟล์ รวมทั้งข้อสอบ ข้อเฉลย และคะแนนสอบ เก็บไว้ในเครื่อง PC ของตนในห้องทำงานส่วนตัว แต่เนื่องจากได้มีการต่อเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย LAN ไว้ทั้งสถานศึกษา จึงทำให้มีบุคคลอื่นสามารถเข้ามาดึงข้อมูลในเครื่อง PC ทั้งหมดที่มีไปได้


2. อธิบายความหมายของ


2.1 Hacker


คือผู้ที่มีความสนใจอย่างแรงกล้าในการทำงานอันลึกลับซับซัอนของการทำงานของระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ใด ๆ ก็ตาม ส่วนมากแล้ว hacker จะเป็นโปรแกรมเมอร์ ดังนั้น hackerจึงได้รับความรู้ขั้นสูงเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการและprogramming languages พวกเขาอาจรู้จุดอ่อนภายในระบบและที่มาของจุดอ่อนนั้น hacker ยังคงค้นหาความรู้เพิ่มเติม อย่างต่อเนื่อง แบ่งปันความรู้ที่พวกเขาค้นพบ และไม่เคยคิดทำลายข้อมูลโดยมีเจตนา


2.2 Cracker


คือบุคคลที่บุกรุกหรือรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกล ด้วยเจตนาร้าย cracker เมื่อบุกรุกเข้าสู่ระบบ จะทำลายข้อมูลที่สำคัญ ทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออย่าง น้อย ทำให้เกิดปัญหาในระบบคอมพิวเตอร์ของเป้าหมาย โดยกระทำของ cracker มีเจตนามุ่งร้ายเป็นสำคัญ คำจำกัดความเหล่านี้ถูกต้องและอาจใช้โดยทั่วไปได้ อย่างไรก็ตามยังมีบททดสอบอื่นอีก เป็นบททดสอบทางกฏหมายโดยการใช้เหตุผลทางกฏหมายเข้ามาใช้ในสมการ คุณสามารถแยกความแตกต่างระหว่างhacker และ cracker บททดสอบนี้ไม่ต้องการความรู้ทางกฏหมายเพิ่มเติมแต่อย่างใด มันถูกนำมาใช้ง่าย ๆ โดยการสืบสวนเช่นเดียวกับ "men rea"


2.3 สแปม


คือ การส่งข้อความถึงผู้ที่ไม่ต้องการรับ ก่อให้เกิดความรำคาญ ละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว และผิดกฏหมาย ลักษณะของสแปม คือ ไม่ปรากฏชื่อผู้ส่ง (Anonymous) ส่งโดยไม่เลือกเจาะจง (Indiscriminate) และ ส่งได้ทั่วโลก (Global) การ SPAM มีทั้ง การสแปมเมล์ (Spam Mail) และ การสแปมบอร์ด ( Spam Board )


2.4 ม้าโทรจัน


คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ถูกบรรจุเข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อลอบเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น เช่น ข้อมูลชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน เลขที่บัญชีธนาคาร หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ


2.5 สปายแวร์


คือ โปรแกรมที่แฝงเข้ามาในคอมพิวเตอร์ขณะที่คุณท่องอินเตอร์เน็ต ถูกเขียนขึ้นมาสอดส่อง การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ และจะทำการเก็บพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตของเรา รวมถึงข้อมูลส่วนตัวหลาย ๆ อย่าง



3. จงยกตัวอย่างกฎหมาย ICT หรือ พ.ร.บ คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง จงอธิบายถึงการกระทำผิดและบทลงโทษ มา 5 อย่าง


1. การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด


มาตรา ๑๓ ผู้ ใดจำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมา ตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐ หรือ มาตรา ๑๑ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


2. มีไฟล์ลามกเกี่ยวกับเด็ก ผิด


ในมาตรา25 “ผู้ ใดครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ซึ่งมีลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กหรือ เยาวชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” เป็นครั้งแรกที่มีการระบุขอบเขตเรื่องลามกเด็กหรือเยาวชนโดยเฉพาะขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ยังมีความคลุมเครือว่า ลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนนั้นหมายความอย่างไร นอกจากนี้ มาตราดังกล่าวยังเป็นการเอาผิดที่ผู้บริโภค ซึ่งมีความน่ากังวลว่า การชี้วัดที่ “การครอบครอง” อาจทำให้เกิดการเอาผิดที่ไม่เป็นธรรม เพราะธรรมชาติการเข้าเว็บทั่วไป ผู้ใช้ย่อมไม่อาจรู้ได้ว่าการเข้าชมแต่ละครั้งดาว์นโหลดไฟล์ใดมาโดย อัตโนมัติบ้าง และหากแม้คอมพิวเตอร์ถูกตรวจแล้วพบว่ามีไฟล์โป๊เด็ก ก็ไม่อาจหมายความได้ว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้ดูผู้ชม


3. ส่งสแปม ต้องเปิดช่องให้เลิกรับบริการ


มาตรา21 ผู้ ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เป็นจำนวนตามหลักเกณฑ์ที่ รัฐมนตรีประกาศกำหนด เพื่อประโยชน์ทางการค้าจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเดือดร้อนรำคาญ และโดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ สามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับจากที่กฎหมายเดิมกำหนดเพียงว่า การส่งจดหมายรบกวน หากเป็นการส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ถือว่าผิดกฎหมาย ในร่างฉบับใหม่แก้ไขว่า หากการส่งข้อมูลเพื่อประโยชน์ทางการค้า โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการ บอกรับได้ ทั้งนี้อัตราโทษลดลงจากเดิมที่กำหนดโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท มาเป็นจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับทั้งนี้ ยังต้องตั้งข้อสังเกตด้วยว่า หากการส่งข้อมูลดังกล่าว แม้จะเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเดือดร้อนรำคาญ แต่ไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ทางการค้า ก็จะไม่ผิดตามร่างฉบับใหม่นี้


4. เพิ่มโทษผู้เจาะระบบ


สำหรับกรณีการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ เดิมกำหนดโทษจำคุกไว้ไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท ร่างกฎหมายใหม่เพิ่มเพดานโทษเป็นจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท(เพิ่มขึ้น 4 เท่า)


5. เก็บโปรแกรมทะลุทะลวงไว้ คุกหนึ่งปี


มาตรา23 ผู้ ใดผลิต จำหน่าย จ่ายแจก ทำซ้ำ มีไว้ หรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่ง หรืออุปกรณ์ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความ ผิดตามมาตรา 15 มาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 และมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

น่าสังเกตว่า เพียงแค่ทำซ้ำ หรือมีไว้ซึ่งโปรแกรมที่ใช้เจาะระบบ การก๊อปปี้ดาวน์โหลดไฟล์อย่างทอร์เรนท์ การดักข้อมูล การก่อกวนระบบ ก็มีความผิดจำคุกไม่เกินหนึ่งปี ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท เรื่องนี้น่าจะกระทบต่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์โดยตรง

แบบฝึกหัดครั้งที่ 4

บทที่ 4



1. สื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภท มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ






2. การนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง



ประโยชน์ของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีดังนี้



การใช้อุปกรณ์ร่วมกัน (Sharing of peripheral devices) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้ผู้ใช้ สามารถใช้อุปกรณ์ รอบข้างที่ต่อพ่วงกับระบบคอมพิวเตอร์ ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเครื่องพิมพ์ ดิสก์ไดร์ฟ ซีดีรอม สแกนเนอร์ โมเด็ม เป็นต้น ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ที่มีราคาแพง เชื่อมต่อพ่วงให้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง



การใช้โปรแกรมและข้อมูลร่วมกัน (Sharing of program and data) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรม และข้อมูลร่วมกันได้ โดยจัดเก็บโปรแกรมไว้แหล่งเก็บข้อมูล ที่เป็นศูนย์กลาง เช่น ที่ฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง File Server ผู้ใช้สามารถใช้โปรแกรมร่วมกัน ได้จากแหล่งเดียวกัน ไม่ต้องเก็บโปรแกรมไว้ในแต่ละเครื่อง ให้ซ้ำซ้อนกัน นอกจากนั้นยังสามารถรวบรวม ข้อมูลต่าง ๆ จัดเก็บเป็นฐานข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้สารสนเทศ จากฐานข้อมูลกลาง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร ์ที่ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ต้องเดินทางไปสำเนาข้อมูลด้วยตนเอง เพราะใช้การเรียกใช้ข้อมูล ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั่นเอง เครื่องลูก (Client) สามารถเข้ามาใช้ โปรแกรม ข้อมูล ร่วมกันได้จากเครื่องแม่ (Server) หรือระหว่างเครื่องลูกกับเครื่องลูกก็ได้ เป็นการประหยัดเนื้อที่ในการจัดเก็บโปรแกรม ไม่จำเป็นว่าทุกเครื่องต้องมีโปรแกรมเดียวกันนี้ในเครื่องของตนเอง



สามารถติดต่อสื่อสารระยะไกลได้ (Telecommunication) การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ เป็นเครือข่าย ทั้งประเภทเครือข่าย LAN , MAN และ WAN ทำให้คอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูล ระยะไกลได ้โดยใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ทางด้านการติดต่อสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่าง ๆ มากมาย เช่น การโอนย้ายไฟล์ข้อมูล การใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การสืบค้นข้อมูล (Serach Engine) เป็นต้น



สามารถประยุกต์ใช้ในงานด้านธุรกิจได้ (ฺBusiness Applicability) องค์กรธุรกิจ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ทางธุรกิจ เช่น เครือข่ายของธุรกิจธนาคาร ธุรกิจการบิน ธุรกิจประกันภัย ธุรกิจการท่องเที่ยว ธุรกิจหลักทรัพย์ สามารถดำเนินธุรกิจ ได้อย่างรวดเร็ว ตอบสนองความพึงพอใจ ให้แก่ลูกค้าในปัจจุบัน เริ่มมีการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย Internet เพื่อทำธุรกิจกันแล้ว เช่นการสั่งซื้อสินค้า การจ่ายเงินผ่านระบบธนาคาร เป็นต้น



ความประหยัด



นับเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า อย่างเช่นในสำนักงานหนึ่งมีเครื่องอยู่ 30 เครื่อง หรือมากกว่านี้ ถ้าไม่มีการนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้ จะเห็นว่าต้องใช้เครื่องพิมพ์อย่างน้อย 5 - 10 เครื่อง มาใช้งาน แต่ถ้ามีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาใช้แล้วละก้อ ก็สามารถใช้อุปกรณ์ หรือเครื่องพิมพ์ประมาณ 2-3 เครื่องก็พอต่อการใช้งานแล้ว เพราะว่าทุกเครื่องสามารถเข้าใช้เครื่องพิมพ์เครื่องใดก็ได้ ผ่านเครื่องอื่น ๆ ที่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน ความเชื่อถือได้ของระบบงาน



นับเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการดำเนินธุรกิจ ถ้าทำงานได้เร็วแต่ขาดความน่าเชื่อถือก็ถือว่าใช้ไม่ได้ ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเมื่อนำระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มาใช้งาน ทำระบบงานมีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือของข้อมูล เพราะจะมีการทำสำรองข้อมูลไว้ เมื่อเครื่องที่ใช้งานเกิดมีปัญหา ก็สามารถนำข้อมูลที่มีการสำรองมาใช้ได้ อย่างทันที



3. หากนำระบบเครือข่ายมาใช่ในองค์กรนักศึกษาจะเลือกระบบเครือข่าย(LAN Topology)แบบใดเพราะอะไรบ้าง



เลือกแบบโทโปโลยีแบบบัส (BUS)



เพราะ สามารถติดตั้งระบบ ดูแลรักษา และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้ง่าย ไม่ต้องใช้เทคนิคที่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก



4. อินเตอร์เน็ตมีข้อดีต่อระบบการศึกษาไทยอย่างไรบ้าง



ประโยชน์ที่ชัดเจนที่สุดของอินเตอร์เน็ตต่อการศึกษา คือการเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การค้นหาข่าวสาร



ข้อมูลต่างๆเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน มี web site ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย แต่ละ web



site ก็ให้ข้อมูลข่าวสารในเรื่องต่างๆ รูปแบบระบบห้องสมุดก็มีแนวโน้มว่าจะเปลี่ยนเป็น digital library ที่มี



หนังสือในเรื่องต่างๆเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ให้อ่านและค้นคว้าได้ online การใช้ email ช่วยให้การติดต่อข่าวสาร



ระหว่างนักวิชาการเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ไม่ล่าช้าเหมือนแต่ก่อน ช่วยให้การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่าง



นักวิชาการในสาขาเดียวกันทั่วโลกเป็นไปได้ การเรียนแบบ online ยังช่วยให้นักเรียนสามารถเรียนได้ตามขีด



ความสามารถของตนเอง ใครมีความสามารถมากก็เรียนได้เร็วกว่า นักเรียนที่ไม่กล้าแสดงความคิดเห็นในห้อง

ก็สามารถแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้นผ่านการใช้ email หรือ discussion group

แบบฝึกหัดครั้งที่ 3




งานบทที่ 3


1. ขั้นตอนการประมวลผลข้อมูลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิคส์แบ่งได้กี่วิธี อะไรบ้าง


สามารถจำแนกวิธีการประมวลผลตามลักษณะเครื่องมือที่ใช้ ได้ 3 วิธี คือ


1. การประมวลผลด้วยมือ ( Manual Data Processing ) เป็นวิธีดั้งเดิม วิธีการประมวลผลไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณไม่มาก และไม่เร่งด่วน มีการนำอุปกรณ์ธรรมดามาช่วย เช่น การใช้ลูกคิด กระดาษ ปากกา


2. การประมวลผลด้วยเครื่องจักรกล ( Mechanical Data Processing) เป็นวิธีการประมวลผลที่อาศัยเครื่องจักรกลมาทำงานร่วมกับอุปกรณ์สำหรับการประมวลผลด้วยมือ เช่น เครื่องทำบัญชี


3. การประมวลผลด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Data Processing ) เป็นวิธีการที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ซึ่งนำคอมพิวเตอร์มาใช้ประมวลผล เหมาะสำหรับงานที่มีปริมาณมาก ต้องการความรวดเร็ว ถูกต้อง



2. จงเรียงลำดับโครงสร้างข้อมูลจากขนาดเล็กไปใหญ่ พร้อมอธิบายความหมายของโครงสร้างฐานข้อมูลแต่ละแบบ



- บิต (Bit) คือ ข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นข้อมูลที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจและนำไปใช้ งานได้ ซึ่งได้แก่ เลข 0 หรือ เลข 1 เท่านั้น

- ไบต์ (Byte) หรือ อักขระ (Character) ได้แก่ ตัวเลข หรือ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์พิเศษ 1 ตัว เช่น 0, 1, …, 9, A, B, …, Z และเครื่องหมายต่างๆ ซึ่ง 1 ไบต์จะเท่ากับ 8 บิต หรือ ตัวอักขระ 1 ตัว เป็นต้น

- ฟิลด์ (Field) ได้แก่ ไบต์ หรือ อักขระตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไปรวมกันเป็นฟิลด์ เช่น เลขประจำตัว(ID) ชื่อพนักงาน(name) เป็นต้น

- เรคคอร์ด (Record) ได้แก่ ฟิลด์ตั้งแต่ 1 ฟิลด์ ขึ้นไป ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องรวมกันเป็นเรคคอร์ด เช่น ชื่อ นามสกุล เลขประจำตัว ยอดขาย ข้อมูลของพนักงาน 1 คน เป็น 1 เรคคอร์ด

- ไฟล์ (Files) หรือ แฟ้มข้อมูล ได้แก่ เรคคอร์ดหลายๆ เรคคอร์ดรวมกัน ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกัน เช่น ข้อมูลของประวัติพนักงานแต่ละคนรวมกันทั้งหมด เป็นไฟล์หรือแฟ้มข้อมูลเกี่ยวกับประวัติพนักงานของบริษัท เป็นต้น

- ฐานข้อมูล (Database) คือ การเก็บรวบรวมไฟล์ข้อมูลหลายๆ ไฟล์ที่เกี่ยวข้องกันมารวมเข้าด้วยกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลของแผนกต่างๆ มารวมกัน เป็นฐานข้อมูลของบริษัท เป็นต้น



3. หากนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในหน่วยงานที่นักศึกษาทำงานอยู่ สามารถมีแฟ้มข้อมูลใดบ้าง และระบบฐานข้อมูลนั้นมีประโยชน์ต่อองค์กรอย่างไรบ้าง


งานที่ทำคือ พนักงานคีย์ข้อมูลแผนกมิเตอร์


ในระบบของการจัดเก็บข้อมูลของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
เป็นองค์กรใหญ่จึง มีคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ตามปกติของ อุปกรณ์พวกนี้ ต้อง ชำรุด เสียหาย หรือ โดน ไวรัส ลบกวนทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานผิดปกติ หรือ ทำงานไม่ได้เลย ดังนั้น ทางการไฟฟ้า จึงต้องมีคลังจัดเก็บอุปกรณ์สำรอง และ เจ้าหน้าที่เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และ ในแต่ละวันได้มีคอมพิวเตอร์ ที่ต้องดูแล ซ่อม และ เบิก – จ่ายอุปกรณ์ จำนวนมาก โดยคอมพิวเตอร์ ที่นำมาซ่อมแต่ละทีนั้น บางทีมาจากต่างจังหวัด และบางทีอุปกรณ์ที่มีอยู่ในคลังมีไม่พอต่อความต้องการ ซึ่งอาจจะทำให้มาเสียเที่ยวได้ และเนื่องจาก มีการซ่อมเป็นจำนวนมาก บางทีอาจจะ บริการไม่ทั่วถึง หรือแก้ไขปัญหาไม่ตรงกับที่เจ้าหน้าต้องการ และยังไม่การเก็บข้องมูลการเสียของคอมพิวเตอร์เพื่อไปวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ
ดังนั้น ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเลยต้องการระบบจัดเก็บข้อมูลเพื่อ ตรวจสอบ จำนวนอุปกรณ์ในคลัง ข้อมูลอุปกรณ์ต่างๆ และ จัดการระบบการซ่อม เพื่อให้ระบบการซ่อมและ การบริการ มีประสิทธิภาพ และทั่วถึงยิ่งขึ้น
รายเดือน หรือ รายปี ในหลายๆ รูปแบบแบบ เช่น กราฟหลายๆรูปแบบ หรือตัวเลขเพื่อให้ความเข้าใจข้อมูล ง่ายขึ้นและไม่ยากต่อการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ขององค์กร เพื่อวางแผนงานและบริหารงานต่อไป


2. วัตถุประสงค์ของโครงงาน
2.1 เพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจสอบจำนวนและลายละเอียดของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ในคลัง
2.2 เพื่อจัดเก็บข้อมูลการซ่อมและเบิกจ่ายอุปกรณ์ ของ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง
2.3 เพื่อเก็บข้อมูลการทำงาน ของพนักงานในแผนกที่รับหน้าที่ซ่อมและดูแลคอมพิวเตอร์
2.4 เพื่อจัดระบบการซ่อมและดูแลคอมพิวเตอร์


2.ขอบเขตของโครงงาน
- สามารถติดตามและตรวจสอบสถานะของการซ่อมได้ เช่น
ผลการอนุมัติ , กำลังดำเนินการ, ซ่อมเสร็จ
- สามารถยกเลิกการแจ้งซ่อมได้
2.2 พนักงานดูแลคอมพิวเตอร์ 1. การกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้งานแบ่งเป็น
1.1 ผู้ดูแลระบบ
1.2 พนักงานทั่วไป
1.3 พนักงานดูแลคอมพิวเตอร์
1.4 พนักงานดูแลคลังอุปกรณ์
1.5 ผู้บริหาร
2. ส่วนงานตรวจสอบการแจ้งซ่อมคอมพิวเตอร์
2.1 พนักงานทั่วไป
- สามารถ login เพื่อแจ้งซ่อมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยระบุ รายละเอียดเช่น ประเภท, หมายเลขอุปกรณ์, รุ่น ,อาการเสีย

- สามารถ login เพื่อตรวจสอบและค้นหารายการที่แจ้งซ่อมเข้า มาได้ตาม อุปกรณ์, อาการเสีย, หน่วยงาน,วันที่
- สามารถเปลี่ยนสถานะของการซ่อมได้ เช่น กำลังดำเนินการ เป็น ซ่อมเสร็จ
- สามารถกรอกรายละเอียดของผลการดำเนินการซ่อมได้
3.ส่วนงานข้อมูลของพนักงานและหน่วยงาน
3.1 พนักงานทั่วไป, พนักงานดูแลคอมพิวเตอร์, ผู้บริหาร
-สามารถแก้ไขข้อมูลส่วนตัวของตนเองได้ เช่น ชื่อ นามสกุล อีเมล์ รหัสผ่าน
3.2 ผู้ดูแลระบบ
- สามารถแก้ไขและเพิ่มเติมข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ได้ เช่น ข้อมูล บุคลากร, ข้อมูลหน่วยงาน, สิทธิ์การเข้าใช้งานระบบ
4.ส่วนงานคลังอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
4.1พนักงานดูแลคอมพิวเตอร์
- สามารถตรวจสอบอุปกรณ์คงเหลือและทำการเบิกอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ได้โดยต้องได้รับการอนุมัติจาก พนักงานดูแลคลัง อุปกรณ์
4.2 พนักงานดูแลคลังอุปกรณ์, ผู้ดูแลระบบ
- สามารถจัดการข้อมูลของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในคลังได้ เช่น เพิ่ม ประเภทอุปกรณ์,
รหัสอุปกรณ์
- สามารถตรวจสอบอุปกรณ์คอมพิวเตอร์คงเหลือได้ และมีสถานะ แจ้งเตือนเมื่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละชนิดใกล้หมด
5.ส่วนงานออกรายงาน
5.1 พนักงานทั่วไป, ผู้ดูแลระบบ
-สามารถออกรายงานการแจ้งซ่อมและผลการซ่อมที่ตนเองแจ้งซ่อมไว้ได้ใน
รูปแบบของ PDF
5.2 พนักงานดูแลคอมพิวเตอร์, ผู้ดูแลระบบ
- สามารถออกรายงานการแจ้งซ่อม ผลการซ่อม สถานนะการซ่อม โดยแบ่งเป็น หน่วยงาน, ประเภทอุปกรณ์ , วันที่ ฯลฯ ในรูปแบบ PDF
5.3 พนักงานดูแลคลังอุปกรณ์, ผู้ดูแลระบบ
- สามารถออกรายงานอุปกรณ์คงเหลือ และอุปกรณ์ที่เบิกจ่ายไป
โดยแบ่งตาม ประเภทของอุปกรณ์, หน่วยงานที่เบิก, วันที่ ในรูปแบบ PDF
5.4 ผู้บริหาร, ผู้ดูแลระบบ
– สามารถออกรายงานสรุป การซ่อมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของแต่ละหน่วยงาน
ได้ในรูปแบบของ PDF
- สามารถออกรายงานอุปกรณ์คงเหลือ และอุปกรณ์ที่เบิกจ่ายไป โดยแบ่งตามประเภทของอุปกรณ์, หน่วยงานที่เบิก, วันที่ ในรูปแบบ PDF
– สามารถดูรายงานสถิติการแจ้งซ่อมได้ในรูปแบบ กราฟแท่ง และ กราฟวงกลม



ข้อดีของ SAP คือการ integrate ทุกๆฟังก์ชั่นขององค์กร
เข้าด้วยกันไม่ใช่เฉพาะแผนกอย่างที่เข้าใจ จะตามสถานะต่างๆ ได้ ตั้งแต่ต้นจบจบกระบวนการควบคุม ต่างๆในระบบจะรัดกุมขึ้นและมีอื่นๆอีกมาก
สามารถเรียกดูงานต่างๆ ได้โดยไม่ต้องรอแผนกต่างๆทำให้งานดำเนินการไปไอย่างเรียบร้อย




4. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างการประมวลผลข้อมูลแบบแบชและแบบเรียลไทม์



วิธีการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้ตามสภาวะการนำข้อมูลมาประมวลผล ซึ่งได้แก่


1.1 การประมวลผลแบบกลุ่ม ( batch processing) หมายถึง การประมวลผลในเรื่องที่สนใจเป็นครั้ง ๆ เช่น เมื่อต้องการทราบผลสำรวจความนิยมของประชาชนต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือที่เรียกว่า โพล (poll) ก็มีการสำรวจข้อมูลโดยการเก็บรวมรวมข้อมูล เมื่อการเก็บรวมรวมข้อมูลได้แล้วก็นำมาป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วนำข้อมูลนั้นมาประมวลผลตามโปรแกรมที่ได้กำหนดไว้ เพื่อรายงานผลหรือสรุปหาคำตอบ กรณีการประมวลแบบกลุ่มจึงกระทำในลักษณะเป็นครั้ง ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ โดยจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลไว้ก่อน เช่น การสำรวจดารายอดนิยม สำรวจนักร้องยอดนิยม สำรวจความคิดเห็นต่อรายการโทรทัศน์ต่าง ๆ เป็นต้น


ในการประมวลผลทั้ง 2 แบบนี้เป็นวิธีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยดำเนินการกับข้อมูลจำนวนมาก เพื่อแยกแยะ คำนวณ หรือดำเนินการตามที่กำหนดไว้ในโปรแกรม การทำงานของคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลจึงต้องมีซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอยสั่งการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในรูปแบบที่ต้องการ

1.2 การประมวลผลแบบเชื่อมตรง (Real Time processing) เป็นการประมวลผลแต่ละรายการและให้ผลลัพธ์ทันทีเมื่อมีการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ การประมวลผลแบบทันทีถ้าเป็นการประมวลผลรายการแบบออนไลน์จะเรียกว่า Online Transaction Processing หรือ OLTP เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน การซื้อสินค้าในห้างสรรพสินค้า การฝากถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม การประมวลผลแบบเชื่อมตรงจึงเป็นวิธีการที่ใช้กันมากวิธีหนึ่ง

แบบฝึดหัดครั้งที่ 2

1.จงอธิบายความหมาย พร้อมยกตัวอย่างของคำดังนี้


1.Hareware ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม)7 เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน


2.Software


1. Software ระบบ (System Software) คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของ Hardware ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน
Software หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น
นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน
2. Software ประยุกต์ (Application Software)
คือ Software หรือโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น
Software ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.1 Software สำหรับงานเฉพาะด้าน
คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่าง บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไขหรือแบบฟอร์ม แตกต่างกันออกไปตามความต้องการหรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และ Software ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา
2.2 Software สำหรับงานทั่วไป
เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องใช้เวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงานที่ขาดบุคลากร ที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้นการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวก และเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
โปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น


3. Peopleware


บุคลากร(people ware) หมายถึง บุคลากรในงานด้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งาน สั่งงานเพื่อ ให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ต้องการ แบ่งออกได้ 4 ระดับ ดังนี้



  • ผู้จัดการระบบ (System Manager) คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน

  • นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้ที่เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน

  • โปรแกรมเมอร์ (Programmer) คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตาม แผนผังที่นักวิเคราะห์ ระบบได้เขียนไว้

  • ผู้ใช้ (User) คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรม ที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการเนื่องจากเป็นผู้กำหนดโปรแกรมและใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ มนุษย์จึงเป็น ตัวแปรสำคัญในอันที่จะทำให้ผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ เนื่องจากคำสั่งและข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ได้รับจากการ กำหนดของมนุษย์ (Peopleware) ทั้งสิ้น

4.Data


ข้อมูล(data) ข้อมูลเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในระบบคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ต้องป้อนเข้าไปในคอมพิวเตอร์ พร้อมกับ โปรแกรมที่นักคอมพิวเตอร์เขียน ขึ้นเพื่อผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์ได้ มี 5 ประเภท คือ ข้อมูลตัวเลข (Numeric Data) ข้อมูลตัวอักษร (Text Data) ข้อมูลเสียง (Audio Data) ข้อมูลภาพ (Images Data) และข้อมูลภาพเคลื่อนไหว (Video Data)



5. Information


สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล และเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มนุษย์แต่ละคนตั้งแต่เกิดมาได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ เป็นจำนวนมาก เช่น เรียนรู้สภาพสังคมความเป็นอยู่ กฎเกณฑ์และวิชาการ เป็นต้น ลองจินตนาการดูว่าภายในสมองของเราเก็บข้อมูลอะไรบ้าง เราคงตอบไม่ได้ แต่สามารถเรียกเอาข้อมูลมาใช้ได้ ข้อมูลที่เก็บไว้ในสมอง เป็นสิ่งที่สะสมกันมาเป็นเวลานาน ความรอบรู้ของแต่ละคนจึงขึ้นอยู่กับการเรียกใช้ข้อมูลนั้น ดังนั้นจะเห็นได้ชัดว่าความรู้เกิดจากข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทุกวันนี้มีข้อมูลอยู่รอบตัวเรามาก ข้อมูลเหล่านี้มาจากสื่อ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ อินเทอร์เน็ต หรือแม้แต่การสื่อสารระหว่างบุคคล จึงมีผู้กล่าวว่ายุคนี้เป็นยุคของสารสนเทศ


2. หากนักศึกษาเป็นเจ้าของธุรกิจ ดังต่อไปนี้ (เลือก 1 ธุรกิจ) จะนำองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ Hardware,Software และ Peopleware ใดมาใช้ในธุรกิจบ้าง เพราะเหตุใดจงอธิบาย


- โรงแรม


ซอร์ฟแวร์โรงแรม
Hotel Applications


แต่เดิมการ Check-in Check-Out ในแผนกบริการส่วนหน้าหรือ Front Office ใช้ระบบ manual หรือการ Check-in ด้วยมือ ต้องจดจำ ทุกๆ อย่างลงในสมุด เรียกว่าถ้าหายไปก็เกิดความยุ่งยากขึ้นมาทันที และแน่นอน การบริการย่อมไม่สามารถทำได้รวดเร็ว แต่อย่าไปพูดถึงอดีตกันเลย มาพูดถึงปัจจุบันในยุคเทคโนโลยีกันดีกว่า


ซอร์ฟแวร์ต่างๆ ที่นิยมใช้ในโรงแรมในประเทศไทย พอแบ่งออกได้เป็นกลุ่มๆ ดังนี้


ซอร์ฟแวร์สำหรับระบบบริการส่วนหน้า


PMS (Property Management System)


โปรแกรมบริหารจัดการส่วนหน้า หรือรู้จักกันดีในนามโปรแกรม Front Office System สำหรับโปรแกรมที่แพร่หลายที่เป็นที่นิยมใช้งานกันทั่วไป เน้นในประเทศไทย ได้แก่Sales & Catering ระบบบริหารจัดการแผนกขาย



  • Opera S&C โปรแกรมสำหรับบริหารจัดการสำหรัแผนกขาย โรงแรมส่วนใหญ่ ถ้าใช้ Opera PMS (ในส่วนของ Front Office) ก็มักจะใช้ Opera S&C เพื่อความสะดวกในการเชื่อมต่อข้อมูลของทั้งสองระบบ

  • Delphi โปรแกรมจากต่างประเทศระดับชั้นนำ ที่มีความสามารถโดดเด่นเหนือโปรแกรม Sales & Catering แต่เรื่องราคาก็คงต้องไปต่อรองกันให้ดี

POS (Point Of Sales) ระบบเก็บเงินห้องอาหาร



  • Micros POS จัดจำหน่ายในนามบริษัท Micros Fidelio (Thailand) ซึ่งซอร์ฟแวร์/ฮาร์ดแวร์ นี้เป็นของต่างประเทศ มีหลากหลายเวอร์ชั่น เช่น Micros 3700, Micros 8700 และ Micros 9700 เป็นต้น

  • InfraSys POS ซึ่งซอร์ฟแวร์/ฮาร์ดแวร์ นี้เป็นของต่างประเทศเช่นเดียวกันกับ Micros POS แต่ราคาถูกกว่า ทำงานด้วยระบบปฏิบัติการ Linux

ซอร์ฟแวร์สำหรับระบบบริการส่วนหลัง


ระบบบัญชี



  • GL (General Ledger)/ AP (Account Payable) สำหรับโปรแกรมที่นิยมใช้งานกันในโรงแรมระดับ 4-5 ดาว ส่วนใหญ่ใช้โปรแกรม Accpac หรือ SUN Accounting System เรื่องราคาก็แพงเอาการอยู่

  • Purchasing / Inventory โปรแกรมที่ใช้สำหรับการบริการการจัดซื้อ เริ่มต้นด้วยการออกใบ PR จนกระทั่งออกใบ PO ปัจจุบันหลายๆ โรงแรมก็ใช้โปรแรกม MC (Material Control) หรือบริษัท Micros Fidelio (Thailand) หรือ CheckEAM ก็เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่โรงแรมที่น่าสนใจ เพราะสามารถ approve ระบบ PR/PO ออนไลน์ได้ เรียกว่าลดการใช้กระดาษได้มากพอสมควร โปรแกรมนี้เป็นของประเทศออสเตรเลีย

ระบบบริหารบุคคล / บัญชีเงินเดือน



  • Eagle คือโปรแกรมบริหารจัดการระบบ Human Resource (HR) ที่พัฒนาโดยคนไทย และมีแบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น Personal / Time Attendance / Payroll และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน HR โดยเฉพาะ

  • Orisoft ก็เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมที่ใช้สำหรับบริหารงาน HR แต่เป็นของต่างประเทศ

· โปรแกรม Management System & Control ช่วยขจัดปัญหากวนใจต่างๆให้กับท่านได้ด้วยระบบการทำงานสมบูรณ์แบบ ใช้งานง่าย และใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเกิดประสิทธิผลสูงสุดทำให้เจ้าของธุรกิจประเภทโรงแรม ผู้ให้บริการห้องพักทั้งชั่วคราว ค้างคืน รายเดือน และอาคารสู ง สามารถบริหารจัดการดูแลระบบได้ทั้งหมด เพราะระบบต่างๆในโปรแกรมจะดูแล และเก็บข้อมูลรายงาน การบริหารStock รายรับ-รายจ่าย การเปิด-ปิดห้องพักรวมทั้งการเปิด-ปิดระบบเครื่องปรับอาการผ่านทางโปรแกรมด้วยเช่นกันซึ่ง
ระบบจะทำงานบนระบบปฎิบัติการ Window และสามารถทำงานบนระบบ Lan ได้ในรูป Client-Server


· คุณสมบัติอันโดดเด่น
ง่ายต่อการใช้งานเนื่องจากในส่วนของพนักงานเป็นระบบปุ่มกด ซึ่งทุกปุ่มกดมีรายการที่ผู้จัดการตั้งค่าไว้ เมื่อกดเลือกแล้วทุกๆข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในส่วนของรายงาน
มีการ Control การเปิด-ปิด ระบบเครื่องปรับอากาศผ่านโปรแกรม
- เปิด เมื่อมีผู้มาใช้บริการห้องพัก
- ปิด เมื่อถึงกำหนดหมดเวลารวมทั้งผู้มาใช้บริการ Check-out
ระบบนี้ทำให้เจ้าของธุรกิจหมดกังวลเกี่ยวกับการใช้ห้องพักจริง เพราะระบบจะบันทึกวันเวลาการเปิด-ปิด ห้องพักทันที รวมถึงมั่นใจได้ว่าเมื่อไม่มีผู้มาใช้บริการพักแล้ว แอร์ได้ถูกปิดทุกห้อง
สามารถดูสถานะของห้องพักที่พร้อมให้บริการ เพราะระบบจะแยกสถานะของห้องตามสีต่างๆ
มีระบบการใส่ Password ของพนักงานที่ดูแลในแต่ละช่วงเวลา
มีระบบการเตือนล่วงหน้าสำหรับผู้มาพักแบบรายชั่วโมง เพื่อให้พนักงานทราบและโทรแจ้งผู้มาพัก
สามารถสั่งอาหาร และ Print สลิป Order ได้
สามารถ Print สลิปใบเสร็จ และมีระบบการเปิด-ปิดลิ้นชักเครื่องเก็บเงินได ้
มีระบบการทำส่วนลดค่าห้อง,ค่าอาหาร พร้อมบันทึกผู้ทำส่วนลด
สามารถดูรายงานแสดงรายรับ การใช้ห้องพัก การขายสินค้า รายงานเหตุการณ์กรณีเปิดห้องโดยไม่มีการเลือกประเภทการพัก รายได้สุทธิแยกตามเครื่องที่ใช้งานฯลฯ
มีระบบการตัด Stock ของใช้


3. ให้นักศึกษา แสดงข้อมูล จำนวน 1 ชุด พร้อมทั้งแสดงในรูปแบบของระบบสารสนเทศ



การบ้านคอมพิวเตอร์

1. จงอธิบายความหมายของคำดังต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน
- เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ด้านอื่นๆ ที่ได้จัดระเบียบดีแล้วมาประยุกต์ใช้ในด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อให้งานนั้นมีความสามารถและประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

- สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียง เพื่อใช้เป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้

- เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานที่เกี่ยวกับการประมวลข้อมูล เพื่อให้ได้สารสนเทศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีคอมพิวยเตอร์กัยเทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อช่วยในการสื่อสวาร และการส่งผ่านข้อมูลและสารสนเทศได้สะดวกรวดเร็วมาขึ้น

- ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ ปรากฏการณ์ คน สิ่งของ ฯลฯ ที่เราสนใจบันทึกเก็บไว้ใช้งาน

- ฐานความรู้ คือ สารสนเทศที่ได้จัดเป็นโครงสร้างความรู้ความเข้าใจ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและต้องมีคุณค่า เพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานต่างๆ ได้

ตัวอย่าง การรับรู้ข่าวสารของเรา เช่น การอ่านหนังสือพิมพ์ การฟังวิทยุหรือดู โทรทัศน์ ก็เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแบบหนึ่ง การใช้โทรศัพท์ โทรสาร ก็เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนั้น การถอนเงินจากเครื่องจ่ายเงินอัตโนมัติ (ตู้ เอ ที เอ็ม) ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

2. โครงสร้างสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง

1. ระดับล่างสุด เป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำงานประมวลผลข้อมูล ซึ่งเรียกว่าระบบการประมวลผลรายการ

2. ระดับที่สอง เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศ เพื่อใช้ในการวางแผนการตัดสินใจและการควบคุมที่เกี่ยวเนื่องกับงานประจำวัน ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการดำเนินงาน

3. ระดับที่สาม เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับกลางใช้ในการจัดการและวางแผนระยะสั้นตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี ซึ่งเรียกว่า งานควบคุมการจัดการ

4. ระดับที่สี่ เป็นการใช้คอมพิวเตอร์จัดทำสารสนเทศสำหรับผู้บริหารจัดการระดับสูง สำหรับใช้ในงานวางแผนระยะยาว ซึ่งเรียกว่าการวางแผนกลยุทธ์

ตัวอย่าง บุคลากรในแต่ละระดับจะเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศดังนี้

ระดับปฏิบัติการ
บุคลากรในระดับนี้เกี่ยวข้องอยู่กับงานที่ทำซ้ำ ๆ กัน และจะเน้นไปที่การจัดการรายการประจำวัน นั้นคือบุคลากรในระดับนี้เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศในฐานะผู้จัดหาข้อมูลเข้าสู่ระบบ ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลการสั่งซื้อของลูกค้าเข้าสู่คอมพิวเตอร์ในระบบสารสนเทศเพื่อการขาย หรือตัวแทนการจองตั๋วและขายตั๋วในระบบจองตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น
ระดับวางแผนปฏิบัติการ
บุคคลในระดับนี้ จะเป็นผู้บริหารขั้นต้นที่ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิงานประจำวัน และการวางแผนปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาสั้น ๆ เช่น แผนงานประจำวัน ประจำสัปดาห์ หรือประจำไตรมาส ข้อมูลที่ผู้บริหารระดับนี้ต้องการส่วนมากจะเกี่ยวข้องกับผลการปฏิบัติในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ผู้จัดการแนกจายตรงอาจต้องการรายงานสรุปผลการขายประจำไตรมาสของพนักงานขาย เพื่อประเมินผลของพนักงานขายแต่ละคน เป็นต้น
ระดับวางแผนการบริหาร
บุคลากรในระดับนี้ จะเป็นผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งทำหนาที่วางแผนให้บรรลุเป้าหมายต่างๆ เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จตามแผนงานระยะยาวตามที่กำหนดโดยผู้บริหารระดับสูง มักจะเป็นสารสนเทศตามคาบเวลาซึ่งมีระยะเวลานานกว่าผู้บริหารขั้นต้น และจะเป็นสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร เช่น ของคู่แข่งหรือของตลาดโดยรวม เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้บริหารระดับนี้ยังต้องการระบบที่ให้รายงานการวิเคราะห์แบบ ถ้า-แล้ว (What - IF) นั่นคือสามารถทดสอบได้ว่าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้แล้ว ตัวเลขหรือสารสนเทศต่างๆ จะเปลี่ยนเป็นเช่นไร เพื่อให้จำลองสถานการณ์ต่างๆที่ต้องการได้ ตัวอย่างเช่น ผู้จัดการฝ่ายขายอาจต้องการทาบผลการขายประจำปีของบริษัทเทียบคู่แข่งต่าง ๆ รวมทั้งอาจต้องการทดสอบว่าถ้าเพิ่มหรือลดลงโฆษณาในสื่อต่าง ๆ จะมีผลกระทบต่อยอดขายอย่างไรบ้าง
ระดับวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว
ผู้บริหารระดับนี้จะเป็นระดับสูงสุด ซึ่งเน้นในเรื่องเป้าประสงค์ขององค์กร ระบบสารสนเทศที่ต้องการจะเน้นที่รายงานสรุป รายงานแบบ What-if และการวิเคราะห์แนวโน้มต่างๆ (trand analysis) ตัวอย่างเช่น ประธานบริษัทอาจต้องการรายงานที่แสดงแนวโน้มการขายในอีก 4 ปีข้างหน้าของผลิตภัณฑ์ 3 ชนิดของบริษัท เพื่อดูแนวโน้มในการเติบโตของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ว่า ผลิตภัณฑ์ใดจะมีแนวโน้มที่มีกว่า หรือผลิตภัณฑ์ใดที่อาจสร้างปัญหาให้บริษัทได้ เป็นต้น
3. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศมีอะไรบ้าง จงอธิบาย พร้อมยกตัวอย่าง

1. ยุคการประมวลผลข้อมูล เป็นยุคแรกๆ ของการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ วัตถุประสงค์ช่วงนั้น คือเพื่อการคำนวณและการประมวลผลข้อมูลประจำวัน เพื่อลดค่าใช้จ่ายและบุคลากรลง

2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ เป็นยุคที่มีการนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในงานด้านการตัดสินใจ ดำเนินการควบคุมติดตามผล ตลอดจนวิเคราะห์งานของผู้บริหาร

3. เป็นการเรียกใช้สาสนเทศ เพื่อที่จะช่วยในการตัดสินใจในการนำองค์กรหรือหน่วยงานไปสู่เป้าหมายอันเป็นความสำเร็จ

4. ยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ ในปัจจุบันเทคโนโลยีมีความเจริญอย่างรวดเร็ว ทำให้มีทางเลือกและเกิดรูปแบบใหม่ๆ ของสินค้าและบริการ รวมเรียกว่าเป็นที่มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดทำระบบสารสนเทศ โดยมุ่งเน้นของการให้บริการสารสนเทศ

ตัวอย่าง


การลงทะเบียนเรียน


การลงทะเบียนเรียนในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง นักศึกษาแต่ละคนสามารถเลือกเรียนวิชาที่สนใจ แต่ตัองเป็นวิชาที่กำหนดในหลักสูตร การลงทะเบียนแต่ละวิชามีข้อจำกัดคือ จำนวนนักศึกษาแต่ละห้องมีจำนวนจำกัด ดั้งนั้นการลงทะเบียนเรียนจึงต้องอาศัยข้อมูลจากการประมวณผล


แบบเชื่อมตรง เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ทันทีว่ามีวิชาอะไรเปิดสอนบ้าง วิชาใดมีผู้สมัครเรียนเต็มแล้ว ถ้าเต็มแล้วสามารถเปลี่ยนกลุ่ม


หรือวิชาใดแทนได้บ้าง


การเดินทาง ธีม. ขับเคลื่อนโดย Blogger.